แม่ค้ามือใหม่ที่เริ่มต้นขายของผ่านการสร้างเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์เป็นของตัวเอง ที่ยังต้องเรียนรู้การทำธุรกิจออนไลน์อยู่ทุกๆวัน บทความนี้จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาธุรกิจออนไลน์ของคุณได้ ซึ่งเราได้รวบรวมข้อผิดพลาดทั่วไปที่มักเกิดขึ้นกับผู้เริ่มต้นธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และจะบอกถึงเคล็ดลับบางประการเพื่อช่วยให้แม่ค้าออนไลน์หลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดเหล่านั้นไม่ให้เกิดขึ้น!

 

เตือนใจข้อที่ 1 : อย่าคิดว่าจะมีลูกค้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ร้านของคุณเองโดยอัตโนมัติ

การขายของออนไลน์ไม่ได้เหมือนการเปิดหน้าร้านค้าที่จะมีผู้คนเข้ามาพบเห็นร้านเราง่ายๆเพียงแค่เดินผ่านไปมา แต่ในความเป็นจริงการเปิดร้านค้าออนไลน์ต้องใช้เวลาและความพยายามอย่างมากเพื่อให้มีลูกค้ามาเข้าชมร้านค้าของคุณ แต่ไม่ต้องกังวลมากเกินไป เพราะจะมีลูกค้ามาเข้าชมร้านค้าออนไลน์ของคุณแน่ๆ แค่ไม่ใช่ในทันทีที่สร้างร้านเสร็จเท่านั้น

ลองคิดภาพถึงการเดินทางของลูกค้า ถ้าเป็นตัวคุณเอง หากคุณกำลังพยายามค้นหาและซื้อสินค้าทางออนไลน์ คุณจะทำอะไรก่อนเป็นสิ่งแรก?

คุณอาจเสิร์ชผ่าน Google พิมพ์ชื่อสินค้าหรือชนิดสินค้านั้นๆ ซึ่งคุณอาจจจะเคยเห็นหรือเคยได้ยินผ่านทางโฆษณา โดยผลการค้นค้าจะนำคุณเข้าไปในเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ที่คุณกำลังมองหาเพื่อซื้อสินค้านั้นๆ ซึ่งขั้นตอนต่างๆเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า การเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ร้านค้านั้นต้องมีแรงกระตุ้นจากการโฆษณาที่ดึงดูดให้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ในลำดับต่อไปผ่านการค้นหา ดังนั้นการโปรโมทเว็บไซต์ผ่านช่องทางการโฆษณาอื่นๆควบไปด้วยจึงเป็นเรื่องสำคัญ คุณควรสร้างแบรนด์ของคุณให้เป็นที่จดจำและวางแผนการโปรโมทผ่านช่องทางออนไลน์อื่นๆควบไปด้วย

เตือนใจข้อที่ 2 : อย่ายอมแพ้อย่างง่ายดายให้กับการทำการตลาดในโลกอีคอมเมิร์ซ

การเรียนรู้ถึงความสำคัญของการโฆษณาผ่านโลกออนไลน์เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น แต่อีกประเด็นสำคัญที่ต้องพูดถึงและเป็นส่วนที่ร้านค้าออนไลน์มือใหม่มักหลงลืมและขายการวางแผนมากที่สุด

“การไม่ใส่ใจในการวางแผนกลยุทธ์การโฆษณาทั้งในแง่ของเนื้อหา เวลา การลงแรงและตัวเงิน”

คุณอาจจะต้องวางแผนการทำการตลาดที่แม่นยำและใช้เวลากับมันมากพอ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ของคุณ รวมทั้งทำให้แบรนด์ของคุณเป็นที่รู้จักไม่ว่าจะเป็น SEO, โฆษณาบน Facebook, รีมาร์เก็ตติ้งของ Google ซึ่งการทำการตลาดผ่านช่องทางเหล่านี้ต้องการการวางแผน คิดวิเคราะห์ผลลัพธ์ ประมวลผลการดำเนินการ และเพิ่มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องด้วยตัวของคุณเอง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่ากับการลงทุน

ตัวอย่างคำถามที่สำคัญคือ ถ้าคุณโฆษณาบน Facebook ครั้งแรกแล้วผลลัพธ์ไม่ออกมาอย่างที่คาดคิดไว้ คุณควรเลิกทำหรือไม่?

คำตอบคือ… ไม่

เพราะอะไร? ก่อนอื่นคุณต้องถามตัวเองก่อนว่าอะไรคือ “สิ่งที่คุณคาดหวัง” ซึ่งอาจจะเป็นการที่ลงโฆษณาแล้วขายสินค้าได้ แต่กลับกลายเป็นว่าคุณยิงแอดไปแล้วขายสินค้าไม่ได้เลย ผลลัพธ์นี้อาจเกิดขึ้นเพราะะมีคนเข้ามาเยี่ยมชมร้านค้าออนไลน์ของคุณมากขึ้น แต่เนื้อหาการนำเสนอสินค้าและประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่คุณนำเสนอนั้นไม่น่าดึงดูดเพียงพอสำหรับพวกเขาที่จะซื้อสินค้าสิ่งหล่านี้คือสิ่งที่คุณต้องวิเคราะห์ให้ออกเพื่อวางแผนการปรับปรุงและพัฒนาให้เกิดผลลัพธ์ตามที่คุณคาดหวังไว้

และใช่! กระบวนการเรียนรู้เหล่านี้ต้องการการทดลอง เงินทุน เวลาและการลงเเรงใจ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีให้ได้ ดังนั้นอย่าลืมวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดในระยะสั้นและระยะยาว จักลำดับความสำคัญของช่องทางการโฆษณา วิเคราะห์ ปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอและเชื่อมั่นในผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งการทดลองเหล่านี้จะช่วยให้คุณมองเห็นช่องทางที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ

 

เตือนใจข้อที่ 3 : ไม่ใช้เครื่องมือสำหรับการทำ Remarketing เพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าเก่า

อัตราส่วนของ Conversion หรือผลลัพธ์ที่ได้กลับมาของร้านค้าออนไลน์ที่ดีโดยทั่วไปมีอัตราส่วนอยู่ที่ 1-2% หมายความว่าลูกค้าทุกๆ 100 คนที่เข้ามาดูเว็บไซต์ร้านออนไลน์ จะมีลูกค้า 1 หรือ 2 คนที่กดสั่งซื้อ และอีก 90 กว่าคนที่เหลือจะกลับออกไปมือเปล่า

การทำการตลาดแบบ Remarketing สามารถทำผ่านช่องทางการโฆษณาได้มากมายเช่น การตลาดผ่านเครื่องมือค้นหารหรือ Google Search, การโฆษณาบน Facebook, เครือข่ายดิสเพลย์ของ Google และอื่นๆ

เครื่องมือการทำการตลาดแบบ  Remarketing นั้น ออกแบบมาเพื่อช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถเข้าถึงลูกค้า 98% เหล่านั้นที่ยังไม่ซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ของคุณทันที แต่หากคุณนำเสนอสินค้าของคุณอีกครั้งผ่านการทำ Remarketing ในอนาคตก็มีโอกาสที่ลูกค้ากลุ่มนั้นจะกลับมาที่เว็บไซต์สินค้าของคุณและซื้อสินค้าของคุณได้

ตัวอย่างของการกำหนดเป้าหมายใหม่ของ Facebook:

การทำการตลาดแบบ  Remarketing ของ Facebook นั้นต้องติดตั้ง Facebook pixel และเชื่อมต่อ API ผ่านเว็บไซต์เพื่อให้ Facebook สามารถจดจำลูกค้าที่เข้ามาดูเว็บไซต์คุณได้ แค่ฟังแล้วก็ดูยุ่งยาก ว่าเราจะติดยังไง

SHOPLINE เว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ที่ให้คุณจัดการเองได้อย่างง่ายๆ ด้วยการติด  Facebook Pixel ผ่านเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ของคุณที่สร้างด้วย SHOPLINE ได้ใน 3 นาที อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วิธีสร้างโฆษณา Remarketing ใน Facebook เพื่อยิง Ads หาคนที่เข้าเว็บไซต์ร้านค้า SHOPLINE ของคุณ

เตือนใจข้อที่ 4 : ลืมใช้งาน Google Analytics !

Google Analytics เป็นเครื่องมือฟรีจาก  Google ที่ร้านค้าออนไลน์เล็กๆพึ่งเริ่มต้นควรเรียนรู้ มันช่วยให้คุณสามารถติดตามพฤติกรรมของลูกค้าบนเว็บไซต์ของคุณ เพื่อให้คุณได้เรียนรู้และพัฒนาประสิทธิภาพการทำเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น

ตัวอย่างการใช้งาน Google Analytics ได้แก่ การตรวจสอบว่าลูกค้าที่เข้ามาในร้านของคุณนั้นเดินทางเข้ามาผ่านช่องทางใดในโลกอินเตอร์เนต, ติดตามพฤติกรรมของลูกค้าบนเว็บไซต์หากพบว่าลูกค้ามักจะออกจากเว็บไซต์หลังจากที่พวกเขาเข้ามายังหน้าใดหน้าหนึ่ง ก็ควรตรวจสอบว่ามีสิ่งผิดปกติกับเนื้อหาในหน้านั้นหรือไม่หรืออาจเกิดปัญหาเรื่องความเร็วในการโหลดหน้าเว็บ เป็นต้น

Google Analytics ยังสามารถช่วยคุณให้สามารถรับรู้ว่าลูกค้าประเภทใดหรือช่องทางเข้ามาไหนมีการสั่งซื้อเกิดขึ้นมากกว่า  ข้อมูลนี้จะช่วยคุณในการเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับการกำหนดกลุ่มเป้าหมายของคุณได้

แน่นอน การจะใช้ Google Analytics  ก็ต้องวาง Pixel ของ Google Analytics บนร้านค้าออนไลน์ของคุณ เว็บไซต์ร้านค้าจาก  SHOPLINE  ตอบโจทย์การทำงานที่ง่าย ไม่ซับซ้อนเพราะเราสามารถให้คุณทำเองได้อย่างง่ายดายในแผงควบคุมของ SHOPLINE ในเวลาเพียง 3 นาที! โดยที่ไม่ต้องมีความรู้เรื่องโค้ดดอ้งหรือการเขียนโปรแกรม ดูวิธีการติดตั้ง Google Analytics ในระบบ SHOPLINE ได้ที่นี่ 

SHOPLINE ยังมีเครื่องมือช่วยเหลือที่ครอบคลุมในแผงควบคุมผู้ดูแลระบบ ซึ่งคุณจะได้รับรายงานที่ช่วยให้คุณสามารถวิเคราะห์กิจกรรมการซื้อขายบนไซต์ของคุณได้ง่ายๆอีกด้วย

เตือนใจข้อที่ 5 : เว็บไซต์ของคุณดูไม่น่าเชื่อถือเพียงพอสำหรับลูกค้าในการสั่งซื้อ

มีเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์มากมายที่คอยหลอกลวงให้ลูกค้าให้ข้อมูลเครดิตทางอินเทอร์เน็ต จากเหตุการณ์นี้ทำให้เราต้องสร้างเว็บไซต์ของเราให้มีความน่าความน่าเชื่อถือและสร้างความรู้สึกปลอดภัยในการซื้อสินค้าออนไลน์ให้กับลูกค้า

1. เว็บไซต์ควรมีหน้าข้อมูลร้านค้า “เกี่ยวกับเรา”

การสร้างเรื่องราวของแบรนด์ผ่านการเล่าเรื่องในหน้าเกี่ยวกับเรานั้น เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่เข็มแข็งให้กับแบรนด์ เพื่อให้ลูกค้าทราบว่ากำลังซื้อสินค้าจากใคร ทัศนคติและมุมมองของรสนิยมนั้นตรงกับตัวลูกค้าหรือไม่ และเพิ่มความมั่นใจถึงแนวทางในการทำธุรกิจที่น่าเชื่อถือ

2. สร้างเรื่องราวของแบรนด์ผ่าน Story telling

การเล่าเรื่องเป็นการชักจูงความคิดของคนอย่างนึง การที่แบรนด์หรือธุรกิจสร้างเรื่องราวความเป็นมาที่น่าสนใจ น่าเชื่อใจ ก็จะสามารถดึงดูดลูกค้าผ่านเรื่องราวเหล่านั้นได้ แบรนด์เองควรมองหาจุดแข็งแรงเรื่องราวที่มาที่สร้างแรงบันดาลใจ ทำให้เกิดแรงชักจูงที่มากพอที่จะให้ลูกค้าเลือกสนุบสนุนแบรนด์ของคุณ และยังช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้าคุณได้อย่างไม่จำกัด

3. ควรมีโลโก้ร้านที่สวยงาม

โลโก้มีจุดมุ่งหมายคือเพื่อเป็นหน้าตาของบริษัท แสดงถึงเอกลักษณ์เฉพาะและสไตล์ของแบรนด์ การจ้างนักออกแบบเพื่อสร้างโลโก้อาจมีค่าใช้จ่ายสูง แต่หากเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะโลโก้ที่ดีจะทำให้ลูกค้าจดจำคุณได้แม้การมองเห็นเพียงหนึ่งครั้ง และยังสามารถแสดงตัวตนของคุณได้อย่างชัดเจนที่สุด

4. สร้างบัญชี Facebook และโซเชียลมีเดียเพื่อร่วมโปรโมตแบรนด์อีคอมเมิร์ซของคุณ

การวิจัยพบว่า 55% ของผู้คนซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ หลังจากพบเห็นสินค้าเหล่านั้นผ่านโซเชียลมีเดียต่าง ยิ่งในประเทศไทยที่มีผู้ที่ใช้งาน Facebook เป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันลูกค้ามักจะค้นหาเพจ Facebook ของแบรนด์เพื่อดูภาพลักษณ์ของแบรนด์ก่อนเป็นอันดับแรก ดังนั้นอย่าได้ปล่อยให้ช่องทางโซชียลนั้นว่างเปล่า พยายามลงคอนเทนต์ และสร้างเรื่องราวที่น่าสนใจอยู่เสมอ เพื่อเป็นช่องทางให้คนเข้ามาซื้อของในเว็บไซต์ของคุณต่อไป

5. อย่าลืมใส่ข้อมูลช่องทางการติดต่อโดยละเอียด

ลูกค้าของคุณอาจมีคำถามเกี่ยวกับรายละเอียดของสินค้า คุณควรแน่ใจว่าพวกเขาสามารถติดต่อคุณได้และได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว เว็บไซต์จาก  SHOPLINE  สามารถเชื่อมต่อช่องทางให้ลูกค้าตอบโต้ผ่านแชท Messenger  บนหน้าเว็บไซต์ ให้คุณสามารถตรวจสอบและตอบโต้ลูกค้าของคุณผ่าน Messenger ได้อย่างรวดเร็ว แม้ลูกค้าคนนั้นจะเข้าชมผ่านเว็บไซต์ก็ตาม อ่านเพิ่มเติมได้ที่ ให้ลูกค้าแชทได้ทันที เชื่อมต่อ FB Messenger เข้ากับเว็บไซต์ร้านค้า SHOPLINE แบบไม่มีค่าใช้จ่าย

เตือนใจข้อที่ 6 : หลงลืมความสำคัญของการทำ SEO

การปรับแต่งเว็บไซต์ให้ติดอันดับบนเครื่องมือการค้นหา (SEO) เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับลูกค้าในการค้นหาเว็บไซต์ร้านของคุณ ซึ่งถือได้ว่าเป็นกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพเนื้อหาออนไลน์เพื่อให้เครื่องมือค้นหามีแนวโน้มที่จะแสดงร้านค้าของคุณเป็นผลลัพธ์อันดับต้นๆ ทำให้เว็บไซต์ของคุณมีโอกาสขายสินค้าได้มากกว่า

ตัวอย่างเช่น เมื่อลูกค้าพิมพ์คำค้นหา เช่น หากร้านคุณมีชื่อว่า “Magic” มีโอกาสสูงมากเมื่อเวลาที่ลูกค้าจะค้นหาร้านคุณใน Google แต่กลับมีนักมายากลหรือบทแนะนำเกี่ยวกับมายากลมากมายปรากฏขึ้นแทน และทำให้แบรนด์ของคุณถูกกลบ นี่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของ SEO ซึ่งคุณสามารถ เริ่มต้นด้วยการใส่คีย์เวิร์ดที่ตรงกับเป้าหมายในเนื้อหาบนเว็บไซต์ของคุณ

SHOPLINE  มีระบบ  SEO Friendly ที่ช่วยให้คุณตั้งค่า SEO ในเว็บไซต์คุณได้อย่างง่ายดาย อ่านเพิ่มเติมได้ที่ สร้างเว็บไซต์ร้านค้าให้ค้นหาเจอง่ายๆ กับการตั้งค่า ​SEO ผ่าน SHOPLINE

เตือนใจข้อที่ 7  : วางเป้าหมายขอความสำเร็จให้สมดุล

สูตรความสำเร็จของเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ ต้องมีทั้งการเข้าชม(Traffic) x ผลลัพธ์ที่ได้มา (Conversion rate) x มูลค่าของผลลัพธ์ (Conversion value) x การรักษาไว้ซึ่งลูกค้า(Retention Value)

หากเป้าหมายไหนประสบความสำเร็จ ร้านของคุณก็มีโอกาสที่จะเติบโตได้มากยิ่งขึ้น แต่หนึ่งในข้อผอดพลาดที่มักหลงลืมไปก็คือ เขาให้ความสำคัญกับเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งมากเกินไป จนเพิกเฉยต่อการพัฒนาโดยภาพรวม เพราะแต่ละส่วนนั้นก็มีข้อดีเป็นของตัวเองที่ร้านค้าต้องพัฒนาควบคู่กันไปเรื่อยๆ

1. การเข้าชม (traffic)  – ควรเพิ่มการเข้าชมเว็บไซต์ จากโฆษณาผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียหรือสร้างลูกค้าประจำ
2. ผลลัพธ์ที่ได้มา (Conversion rate) – ลงทุนที่ถูกต้องในการโฆษณาและเพิ่มเปอร์เซ็นต์ของผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ที่ได้ที่ทำการสั่งซื้อ
3. มูลค่าของผลลัพธ์ (Conversion value) – วัดผลตอบแทนการลงทุนของคุณต่อคำสั่งซื้อให้มีมูลค่าที่ถูกลงและคุ้มค่า
4. การรักษาไว้ซึ่งลูกค้า(Retention Value) – ทำให้ลูกค้าติดใจในการบริการและสินค้าของคุณ จนกลับมาซื้อซ้ำเรื่อยๆ

คุณสมบัติทั้งหมดนี้เชื่อมโยงกันและเป็นสิ่งสำคัญต่อการดูแลผู้มีโอกาสเป็นลูกค้า เพื่อให้เกิดธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่ทำกำไรได้ และเติบโตอย่างประสบความสำเร็จในอนาคต

 SHOPLINE พร้อมสนับสนุนโอกาสในการเริ่มต้นธุรกิจออนไลน์ให้กับแม่ค้าออนไลน์ทุกคน ให้คุณเริ่มต้นธุรกิจออนไลน์ของคุณได้ง่ายๆ ผ่านแพลตฟอร์มเว็บไซต์ร้านค้าขายสินค้าออนไลน์สำเร็จรูป ที่คุณเริ่มต้นทำเว็บไซต์ของคุณได้ง่ายๆ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมทั้งทดลองใช้งานฟรี 14 วันได้ทันทีที่ LINE : @shoplineth หรือคลิกที่นี่

Facebook Plugins