สรุปบทความ
การใช้อินฟลูเอนเซอร์ในการทำการตลาดเป็นช่องทางหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในโลกปัจจุบัน ที่เปิดโอกาสให้แบรนดืสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้หลากหลายและตรงกลุ่มมากขึ้น ช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์และเพิ่มยอดขายให้กับสินค้า
จากการวิจัยพบว่าเทรนด์การตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์จะยังคงเติบโตในปี 2020 และแบรนด์ต่างๆ พร้อมที่จะสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวกับบรรดาอินฟลูเอนเซอร์ในโลกออนไลน์ ซึ่งในปี 2019 นั้นพบว่า 63% ของแบรนด์ต่างๆทั่วโลกมีการวางแผนที่จะเพิ่มงบประมาณสำหรับการตลาดสำหรับอินฟลูเอนเซอร์อย่างต่อเนื่อง และในช่วงสามปีที่ผ่านมา การค้นหา “Influencer Marketing” บน Google เพิ่มสูงขึ้นถึง 1,500%
ในบทความนี้เราจะพูดถึงทุกสิ่งที่แม่ค้าออนไลน์อาจสงสัยเกี่ยวกับการตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์ เช่น วิธีสร้างแผนการตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์ วิธีค้นหาอินฟลูเอนเซอร์ที่เหมาะกับแบรนด์ของคุณ กลยุทธ์ทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพและอื่นๆ อีกมากมาย
การตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์คืออะไร?
ก่อนที่จะทำความรู้จักกับการตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์ คุณควรต้องรู้ก่อนว่า Influencer คืออะไร
เหตุใดจึงจำเป็นต้องมีการวางแผนการใช้งานการตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์
การนำอินฟลูเอนเซอร์มาใช้ในกลยุทธ์การตลาดของคุณจะเป็นประโยชน์สำหรับการนำเสนอแบรนด์ รายได้ และยังมีข้อดีอีกมากมายเช่น:
1. การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวาง
นอกเหนือจากการโฆษณาแล้ววิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของคุณคือผ่านผู้มีอิทธิพลทางสังคมหรืออินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) พวกเขาไม่เพียงแค่ช่วยเพิ่มการรับรู้ถึงแบรนด์ของคุณ แต่ยังช่วยให้คุณสร้างโอกาสในการขายที่มีคุณภาพอีกด้วย ที่สำคัญกว่านั้นคือการตรวจสอบให้แน่ใจว่าแบรนด์ของคุณได้นำเสนอเนื้อหาที่มีคุณค่า ซึ่งจะเพิ่มความโดดเด่นให้กับสื่อโซเชียลมีเดียของพวกเขา ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย
2. เปิดมุมมองใหม่ๆให้กับการโฆษณาสินค้า
อินฟลูเอนเซอร์ต้องการสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ชมหรือทำให้พวกเขามีส่วนร่วมกับคอนเทนต์ที่สร้างขึ้น ซึ่งบรรดาอินฟลูเอนเซอร์แต่ละคนเองก็มีบุคลิกหรือภาพลักษณ์ที่แข็งแกร่ง เป้นตัวของตัวเอง ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อแบรนด์ของคุณในการสร้างมุมมองใหม่ๆ ให้กับลูกค้าและอาจเป็นการขยายฐานผู้ชมของคุณได้โดยไม่คาดคิด
3. เพิ่มความน่าเชื่อถือ
ตามหลักแล้วแบรนด์ต่างๆ จะจ้างพรีเซนเตอร์ที่มีชื่อเสียงเพื่อรับรองผลิตภัณฑ์หรือชื่อแบรนดืสินค้าของตัวเอง แต่นั้นจะเป็นการผูกมัดภาพลักษณ์ของแบรนด์เข้ากับภาพลักษณ์ของพรีเซนเตอร์ ซึ่งอาจมีเรื่องอื้อฉาวในอนาคต ความไม่แน่นอนนี้ทำให้เหล่าแบรนด์เองมองหาอินฟลูเอนเซอร์เพิ่มากขึ้นเช่น อินฟลูเอนเซอร์บนโซเชียลมีเดีย บล็อกเกอร์ ยูทูบเบอร์ เน็ตไอดอล และอื่น ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยง อินฟลูเอนเซอร์ในปัจจุบันเองก็มีความพิถีพิถันในการเลือกแบรนด์ที่เหมาะกับตัวเองมากขึ้น เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับตัวของพวกเขา ซึ่งจะสามารถเพิ่มผู้ติดตามที่สนใจในเรื่องเดียวกันได้ ยิ่งไปกว่านั้นในปัจจุบัน จากการสำรวจใน YouTube มีจำนวนกว่า 70% ของผู้ติดตามวัยรุ่นกล่าวว่า พวกเขารู้สึกใกล้ชิดและติดตามดูผลงานของอินฟลูเอนเซอร์มากกว่าดาราทั่วไป
4. เพิ่มเอนเกจเมนต์หรือสร้างความเคลื่อนไหวได้มากกว่า
ผู้ชมไม่จำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ของเรา แต่พวกเขาชอบที่จะมีส่วนร่วมกับเนื้อหาของอินฟลูเอนเซอร์ การที่มีอินฟลูเอนเซอร์กล่าวถึงคุณบนโซเชียลมีเดียเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหวทำให้แบรนด์ของคุณเป็นที่กล่วถึงในโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น ยอดไลค์ ความคิดเห็น จำนวนผู้ติดตาม และการใช้ #แฮชแท็ก ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานที่ดีในการวัดความสำเร็จของแคมเปญที่ใช้อินฟลูเอนเซอร์ในการโปรโมท
5. เพิ่มอัตรา Conversion หรือเพิ่มยอดขาย
อินฟลูเอนเซอร์มักได้รับความไว้วางใจจากผู้ติดตาม และความคิดเห็นของพวกเขามีมูลค่าสูงและน่าเชื่อถือ ข้อดีของการตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์คือผู้บริโภคมักมองหาอินฟลูเอนเซอร์เพื่อขอคำแนะนำว่าควรซื้อสินค้าและบริการอะไร เช่น มียูทูบเบอร์จำนวนมากที่ลงคลิปวิดีโอแกะกล่องและรีวิวสินค้าเพื่อเพิ่มยอดชมและจำนวนผู้ติดตาม โดยในคลิปเหล่านั้นพวกเขาจะทดสอบการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับ ทำการเปรียบเทียบ และแชร์ประสบการณ์จากการใช้งานจริงว่าพวกเขาคิดอย่างไรกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ ทำให้เหล่าผู้ติดตามเชื่อมั่นการรีวิวสินค้ามากขึ้น และผลักดันให้เกิดยอดขายที่มากขึ้น จากการศึกษาพบว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าพวกเขาจะซื้อสินค้าหลังจากเห็นอินฟลูเอนเซอร์ในโซเชียลมีเดียใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้น
กลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะกับอินฟลูเอนเซอร์ที่แบรนด์สามารถนำไปใช้ได้
1. การรีวิวสินค้าจากผู้ใช้งานจริงหรือ User-generated content (UGC)
การใช้อินฟลูเอนเซอร์ในการช่วยโปรโมทรีวิวสินค้าของคุณ เป็นการกระตุ้นให้ลูกค้าของคุณที่ติดตามอินฟลูเอนเซอร์เหล่านั้นเริ่มสร้างคอนเทนต์แบบเดียวกันตามกระแส และเกิดการแชร์แบบออแกนิคไปยังผู้ใช้งานอื่นๆ ซึ่งเป็นการสร้างเครือข่ายข่าวสารที่จะช่วยกระจายแบรนด์ของคุณสู่หน่วยย่อยเล็กๆ ในเครือข่ายเพื่อนและครอบครัวของพวกเขาได้
ยกตัวอย่างเช่น Take Away ซึ่งเป็นบริษัททำกระเป๋าเดินทาง ได้ทำการตลาดที่แตกต่างไปจากแบรนด์กระเป๋าแบบดั้งเดิมที่มุ่งเน้นไปที่การใช้งานหรือชื่อแบรนด์เพียงอย่างเดียว การตลาดของ Take Away เชื่อมโยงผลิตภัณฑ์กับไลฟ์สไตล์การเดินทางให้ความสำคัญกับอินฟลูเอนเซอร์โดยคอนเทนต์ที่สร้างโดยผู้ใช้งานจริงบนโซเชียลมีเดีย ทำให้เกิดการรับรู้และเพิ่มการมีส่วนร่วมกับแบรนด์มากขึ้น ซึ่งโพสต์ที่ถูกสร้างขึ้นจากอินฟลูเอนเซอร์นั้นเน้นไปที่การสร้างแรงบันดาลใจให้ลูกค้าอยากออกเดินทางมากขึ้น เป็นภาพสถานที่ท่องเที่ยว การพักผ่อน และแทรกสินค้าของ Take Away เข้าไปเพื่อสร้างภาพจำที่ดูมีไลฟ์สไตล์
2. สร้างแคมเปญกิจกรรมร่วมกับอินฟลูเอนเซอร์
การเชิญอินฟลูเอนเซอร์ของคุณเข้าร่วมกิจกรรมอีเว้นท์หรือแคมเปญออนไลน์ยังเป็นวิธีที่ดีในการสร้างการรับรู้ต่อแบรนด์และสร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้าของเรา เพราะเป็นการที่เราดึงเอากลุ่มคนที่ติดตรามอินฟลูเอนเซอร์นั้นเข้ามารู้จักแบรนด์ของเรามากขึ้น
ตัวอย่างเช่นการนำอินฟลูเอนเซอร์เข้ามาเป็น Take over แอคเคาท์อินสตาแกรมของคุณ ซึ่งอินฟลูเอนเซอร์จะกลายเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ระยะสั้นให้กับแบรนด์ของคุณทันที และดึงดูดเหล่าผู้ติดตามให้เข้ามาสู่แอคเคาท์อินสตาแกรมของคุณมากขึ้น และได้รู้จักกับสินค้าของคุณได้มากยิ่งขึ้นด้วย
3. เป็นตัวแทนของแบรนด์ในการเล่าถึงสินค้า
อีกหนึ่งกลยุทธ์ทางการตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์ ที่มีประสิทธิภาพคือการให้อินฟลูเอนเซอร์ เป็นตัวแทนในการโฆษณาแบรนด์สินค้า โดยสามารถเชิญอินฟลูเอนเซอร์มาเป็นคนเล่าถึงสินค้าในงานอีเว้นท์หรืองานสัมมานา
4. สร้างกิจกรรมแจกของรางวัลผ่านอินฟลูเอนเซอร์
หลายๆครั้งที่เราเห็นหลายแบรนด์สร้างกิจกรรมออนไลน์ร่วมกับอินฟลูเอนเซอร์ นอกจากการกระต้นให้เกิดความเคลื่อนไหวของข่าวสารจากแบรนด์ในโลกออนไลน์แล้ว การที่มีของรางวัลจากแบรนด์และอินฟลูเอนเซอร์ยังทำให้เหล่าผู้ติดตามนั้นกระโดดเข้ามามีส่วนร่วมและช่วยเพิ่มเอนเกจเมนต์ให้กับแบรนดืของคุณ เกิดคอนเทนต์มากมายตามขึ้นมา
วิธีการหาและเลือกอินฟลูเอนเซอร์ให้เหมาะกับแบรนด์
การหาเหล่าอินฟลูเอนเซอร์เพื่อร่วมงานนั้นอย่าคิดเพียงว่าเป็นการร่วมงานในระยะเวลาสั้นๆแล้วจบเท่านั้น แต่เป็นการสร้างเครือข่ายและความสัมพันธ์ที่ดี สำหรับการโปรโมทครั้งต่อๆไปมนอนาคนด้วยเช่นกัน
วันนี้เราจะแนะนำประเภทของอินฟลูเอนเซอร์ต่างๆ และ วิธีการใช้ใช้งานอินฟลูเอนเซอร์ให้เหมาะสมกับแบรนด์ของเรา เพื่อให้เกิดมูลค่าทางการตลาดที่คุ้มค่าที่สุกสำหรับทั้งสองฝ่าย
ข้อมูลจาก eMerketer.com ระบุว่ามีอินฟลูเอนเซอร์มากกว่า 500,000 คนที่ใช้งานบน Instagram ซึ่งเป็นตัวเลือกที่จำนวนเยอะมาก นักการตลาดจะค้นหาอินฟลูเอนเซอร์ที่เหมาะสมเพื่อเป็นตัวแทนของแบรนด์ได้อย่างไร?
สมมติว่าคุณกำลังจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ และกำลังมองหาอินฟลูเอนเซอร์ที่เหมาะสม คุณจะเริ่มต้นอย่างไร? สิ่งแรกที่คุณควรตอบตัวเองให้ได้ก่อนคือ
- อินฟลูเอนเซอร์ประเภทใดที่มีประโยชน์มากที่สุดสำหรับแคมเปญของคุณ?
- งบประมาณของคุณสำหรับการตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์อยู่ที่เท่าไหร่?
- แบรนด์ของคุณพยายามจะสร้างอิทธิพลกับกลุ่มลูกค้าแบบไหน?
ในการตอบคำถามเหล่านี้ อันดับแรกต้องรู้จักกับประเภทและระดับของอินฟลูเอนเซอร์เสียก่อน :
Source: mediakix
เรามาเรียนรู้ตัวอย่างระดับอิทธิพลของอินฟลูเอนเซอร์บน Instagram จากน้อยไปหามากกัน
- นาโนอินฟลูเอนเซอร์ (Nano Influencer): ผู้ติดตาม 1,000 – 10,000 คน
ยอดติดตามที่น้อยทำให้พวกเขาเข้าถึงเหล่า Follower ของพวกเขาถึงได้มากที่สุด ผู้ติดตามส่วนใหญ่เป็นคนรอบตัวของพวกเขา กลุ่มคนเหล่านี้มีอิทธิพลต่อคนรอบๆตัวในระดับที่ย่อยที่สุด คอนเทนต์ที่ควรโปรโมทคือควรเป็นคอนทนต์ที่เข้าถึงง่ายแนวเพื่อนบอกต่อเพื่อน เพื่อชักจูงให้คนรอบตัวเขามารู้จักกับแบรนดื
- ไมโครอินฟลูเอนเซอร์ (Micro Influencer) : ผู้ติดตาม 10,000 – 50,000 คน
กลุ่มนี้เป้นกลุ่มที่เหล่าแบรนด์ควรเข้าถึงและให้ความสำคัญมากที่สุด เพราะเป็นขนาดที่สามารถกระตุ้นการมีส่วนร่วมของผู้ติดตามได้ดี รวมทั้งต้นทุนในการโปรโมทไม่ได้สูงมากทำให้แบรนด์ประหยัดต้นทุนในการซื้อตัวอินฟลูเอนเซอร์ได้เป็นอย่างมาก ซึ่งทำให้แบรนด์สามารถกระจายการรับรู้ได้ผ่านอินฟลูเอนเซอร์หลายๆคนในระดับเดียวกัน โดยอินฟลูเอนเซอร์เหล่านี้อาจจะไม่จำเป็นต้องมีชื่อเสียงมากมาย แต่ต้องมีการอัปเดทคอนเทนต์อย่างต่อเนื่อง จากผลสำรวจขนาดของอินฟลูเอนเซอร์ระดับนี้สามารถชักจูงผู้บริโภคให้คล้อยตามได้มากถึง 82%
- มิด-เทียร์อินฟลูเอนเซอร์ (Mid-tier Influencer): ผู้ติดตาม 50,000 – 500,000 คน
อินฟลูเอนเซอร์ระดับนี้มักจะเน้นไลฟ์สไตล์หรือความสนใจที่เฉพาะตัว ตามแต่อาชีพหรือความถนัดของแต่ละคน ซึ่งเหล่าผู้ติดตามจะเป็นกลุ่มคนที่มีความชอบ และรสนิยมที่ชัดเจน ทำให้การใช้งานเหล่าอินฟลูเอนเซอร์เหล่านี้ต้องคัดเลือกให้เหมาะกับแบรนด์มากที่สุด และลงทุนให้ถูกกลุ่มเป้าหมาย
- มาร์โคอินฟลูเอนเซอร์ (Macro Influencer) : ผู้ติดตาม 500,000 – 1,000,000 คน
กลุ่มคนเหล่นี้คือผู้นำด้านความคิดที่สำคัญของสังคม พวกเขามีกลุ่มผู้ติดตามที่กว้างขวางและมีความสนใจในหัวข้อที่หลากหลาย เนื้อหาคอนเทนต์ของพวกเขามักมีคุณภาพสูงและหัวข้อที่ชัดเจนในการเล่า และมีประสบการณ์การทำงานแบบมืออาชีพในการสร้างคอนเทนต์ที่ถูกใจผู้ติดตาม การลงทุนกับอินฟลูเอนเซอร์เหล่านี้ถือเป็นการลงทุนที่สูงแต่ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าในการเข้าถึงกลุ่มคนจำนวนมาก
- เมกะอินฟลูเอนเซอร์ (Mega Influencer): ผู้ติดตาม 1,000,000 คนขึ้นไป
กลุ่มคนนี้อาจเป็นนักแสดง นักดนตรี คนดังหรือใครก็ตามที่มีผู้ติดตามมากกว่า 1 ล้านคนขึ้นไป หลายแบรนด์อาจมองว่ากลุ่มคนเหล่านี้มีประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนการรับรู้ แต่จากการสำรวจพบว่ามีผู้บริโภคเพียง 3%เท่านั้นที่ได้รับอิทธิพลจากคนดังกลุ่มนี้ในการซื้อสินค้า นั้นแปลว่ากลุ่มคนเหล่านี้ไม่เหมาะกับการสร้างคอนเทนต์เพื่อสร้างยอดขาย อาจจะเป็นการเสี่ยงในการลงทุนที่สูง แต่ผลตอบแทนน้อย
เราจะวัดอัตราส่วนการหาค่า Return on investment (ROI) หรือผลตอบเเทนจากการลงทุนทางการตลาดของอินฟลูเอนเซอร์ได้อย่างไร?
เมื่อเราลงทุนเราย่อมอยากให้เกิดผลลัพธ์ที่ได้กำไร แต่การวัดค่าความสำเร็จของเหล่าอินฟลูเอนเซอร์จะทำอย่างไรล่ะ? แม้ว่าในแต่ละแพลตฟอร์มจะมีการวัดค่าที่แตกต่างกันไป แต่โดยจุดร่วมที่สำคัญที่เราสามารถตั้งเป้าหมายไว้ได้มีดังนี้
- Reach/Impression หรือ การเข้าถึง/การแสดงผล
หากการสร้างการรับรู้และโปรโมทแบรนด์เป็นวัตถุประสงค์ของแคมเปญ Reach/Impression เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญที่สุดที่ต้องพิจารณา โดยสามารถรวบรวมผลจากรายงานของโซเชียลมีเดียต่างๆและสื่อดิจิทัลได้ เราสามารถประเมินความสำเร็จและตั้งค่า KPI จากยอดตรงนี้ได้เพื่อวัดผลความสำเร็จของแคมเปญ
- Engagement หรือ การมีส่วนร่วม
อีกเฟ้าหมายหนึ่งที่หลายแบรนด์นำมาวัดผลคือยอด Engagement หรือ การมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมคือการกดไลก์ ความคิดเห็น การแชร์ การรีทวีต และปฏิกิริยาที่ได้รับจากเนื้อหานั้นเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นตัวชีวัดที่มีคุณภาพสูง เพราะแสดงให้เห็นว่าคอนเทนตืของเหล่าอินฟลูเอนเซอร์สร้างผลกระทบกับเป้าหมายของเราจริงๆ
- Conversion หรือ อัตราผลลัพธ์ที่ได้กลับคืนมา
เป้าหมายหลักของแบรนด์ส่วนใหญ่คือการสร้างโอกาสในการขายและเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด หากต้องการให้แคมเปญอินฟลูเอนเซอร์ของคุณสร้างผลลัพธ์ที่วัดผลได้ เราสามารถออกแบบแคมเปญที่ให้ลิงก์เฉพาะสำหรับอินฟลูเอนเซอร์ไว้ เพื่อให้เราสามารถติดตามผลลัพธ์ของเราได้ ตัวอย่างเช่นแบรนด์อสังหาริมทรัพย์ต้องการให้คนที่สนใจซื้อคอนโดลงทะเบียนที่ติดต่อกลับ ตัวแบรนด์สามารถสร้างลิ้งก์เฉพาะอินฟลูเอนเซอร์เพื่อเข้าไปสู่หน้าลงทะเบียนเหล่านั้น
- Revenue ยอดขาย
การเพิ่มยอดขายผ่านคอนเทนต์อินฟลูเอนเซอร์นั้นสามารถทำได้หลากหลายทาง ไม่ว่าจะเป็นการจัดโปรโมชันเฉพาะสินค้ากับอินฟลูเอนเซอร์ที่คุณกำหนด หรือ สร้างโค้ดส่วนลดที่อ้างอิงไปกับอินฟลูเอนเซอร์ได้ เพื่อทำให้เราสามารถวัดผลได้ว่าการลงทุนกับอินฟลูเอนเซอร์งั้นคุ้มค่าหรือไม่
เมื่อไม่มีลิงก์หรือโค้ดส่วนลดเข้ามาเกี่ยวข้อง คุณก็ยังคงสามารถวัดการเพิ่มขึ้นของยอดขายได้โดยดูจากรายได้รวมต่อเดือน และแนวโน้มของยอดขายที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น คุณยังสามารถใช้ Google Analytics เพื่อตรวจสอบข้อมูลดิจิทัลในเรื่องของแนวโน้มและการเติบโตรายเดือน หรือใช้เครื่องมือการรายงานในตัวในแพลตฟอร์มเว็บไซต์ร้านค้าของคุณ
SHOPLINE หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เหล่าแม่ค้าออนไลน์หรือคนที่เร่ิมต้นธุรกิจออนไลน์สามารถนำความรู้เกี่ยวกับการใช้งานอินฟลูเอนเซอร์ไปปรับใช้ในการสร้างแบรนด์ของคุณให้เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ
Copyright: SHOPLINE มีการรักษาลิขสิทธิ์ของแต่ละบทความ สำหรับการใช้อ้างอิงใดๆ ใบเสนอราคา รีโพสต์และอื่น ๆ ต้องได้รับอนุญาตจาก SHOPLINE
Facebook Plugins
แพลตฟอร์มให้บริการด้านธุรกิจออนไลน์แบบครบวงจร ทั้งเว็บไซต์ การตลาด การจัดการออร์เดอร์ เพื่อช่วยผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์ เพิ่มยอดขาย และประหยัดเวลาได้มากขึ้น
Leave A Comment